พลโท พลอากาศโท กาจ กาจสงคราม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ หลวงกาจสงคราม หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร สมาชิกขบวนการเสรีไทย อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 ของกองทัพบกไทย ช่วงปี พ.ศ. 2491-พ.ศ. 2492 และอดีตอธิบดีกรมศุลกากร พ.ศ. 2481-2485
หลวงกาจสงคราม เกิดที่จังหวัดลำพูน เมื่อปีพ.ศ2446 มีชื่อเดิมว่า เทียน เก่งระดมยิง จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก และเข้ารับราชการทหารที่เชียงใหม่และที่พระนคร ได้ร่วมกับหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) เข้าร่วมในคณะราษฎรฝ่ายทหาร ผู้ก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ภายหลังการปฏิวัติ หลวงกาจสงครามได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้บังคับการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 2 ในพระนคร
ในเหตุการณ์กบฏบวรเดช เดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 หลวงกาจสงคราม ได้นำกำลังทหารฝ่ายรัฐบาล ขึ้นรถจักรดีเซลที่สถานีรถไฟบางซื่อ เพื่อเดินทางไปกวาดล้างทหารกบฏของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ที่จังหวัดนครราชสีมา ฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชได้ใช้รถจักรฮาโนแม็ก เบอร์ 277 หรือที่เรียกว่า “รถตอปิโดบก” พุ่งชนรถไฟของกองทัพรัฐบาล ทำให้ทหารฝ่ายรัฐบาลบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก และทำให้หลวงกาจสงครามได้รับบาดเจ็บ หูแหว่ง จากเหตุการณ์ครั้งนี้ รัฐบาลได้ปูนบำเหน็จและย้ายให้ไปควบคุม กรมอากาศยาน (กองทัพอากาศ) และหลังจากนั้นหลวงกาจสงครามได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการกองทัพอากาศคนแรก แต่เนื่องด้วยหลวงกาจสงครามมีความขัดแย้งกับนายทหารในกองทัพอากาศ ทำให้รัฐบาลย้ายหลวงกาศสงครามไปเป็นอธิบดีกรมศุลกากร
ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงกาจสงครามเป็น คนหนึ่งในคณะเสรีไทยโดยร่วมมือกับนายปรีดี พนมยงค์ ในการตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่น โดยยอมลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 เป็นตัวแทนเสรีไทยเดินทางไปประเทศจีน และเมื่อสงครามยุติแล้วหลวงกาจสงครามก็ร่วมกับนายปรีดี พนมยงค์ ก่อตั้งพรรคสหชีพ ซึ่งเป็นพรรคที่ก้าวหน้าที่มีนโยบายเป็นประชาธิปไตยของฝ่ายพลเรือนในขณะนั้น
ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงกาจสงครามในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล เมื่อ พ.ศ. 2484
ภายหลังจากเกิดกรณีวิกฤตเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 หลวงกาจสงครามได้โจมตีนายปรีดี พนมยงค์ ว่ามีแผนการจัดตั้ง "มหาชนรัฐ" ที่มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยเป็น "สาธารณรัฐ" จนเป็นที่โจษจันไปทั่ว และเกิดการจับกุมผู้ต้องสงสัยหลายรายซึ่งล้วนแต่เป็นกลุ่มของนายปรีดี หลวงกาจสงครามอ้างเรื่องแผนมหาชนรัฐว่าจะก่อให้เกิดการวินาศกรรมครั้งใหญ่ จึงได้ตัดสินใจรัฐประหารเสียก่อน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 พ.อ. กาจ กาจสงคราม เป็นรองหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งประกอบด้วยนายทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ พ.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ. ถนอม กิตติขจร พ.ท. ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ. สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และตั้งนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลวงกาจสงครามมีส่วนอย่างสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 และเก็บซ่อนไว้ใต้ตุ่ม จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับ “ใต้ตุ่ม” หรือ “ตุ่มแดง” และหลวง กาจ กาจสงคราม ได้รับฉายาจากการรัฐประหารครั้งนี้ว่า “นายพลตุ่มแดง”
หลังจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2491 นายควง อภัยวงศ์ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่หลังจากการบริหารประเทศเพียงไม่นาน เกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491 ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 หลวงกาจสงครามพร้อมทหารสี่นาย ได้บุกเข้าพบนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล และบีบบังคับให้นายควงลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งนายควงก็ลาออกแต่โดยดี การรัฐประหารครั้งนี้เรียกว่า “รัฐประหารเงียบ” เนื่องจากไม่มีการใช้กำลังทหาร และเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใดและตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
หลวงกาจสงคราม สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงฟองสมุทร เก่งระดมยิง มีบุตร-ธิดา 7 คน รวมทั้ง ท่านผู้หญิงสายหยุด ดิฐการภักดี (สายหยุด บุณยรัตพันธุ์) , หม่อมวิภา จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (หม่อมใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ) และ พันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง หลังจากนั้นได้สมรสกับนางประดับ กาจสงคราม มีบุตร-ธิดา 4 คน รวมทั้ง นายชัยพฤณท์ กาจสงคราม
ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2493 หลวงกาจสงคราม ได้ถูกกล่าวหาว่าจะก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาล โดยทาง พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ รองอธิบดีกรมตำรวจ ได้ถูกจับขังคุก และในเช้าวันรุ่งขึ้น ได้ถูกเนรเทศไปที่ฮ่องกงทันที จนกระทั่งหลัง พ.ศ. 2500 ที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้ว จึงได้เดินทางกลับมาพำนักยังประเทศไทย
หลวงกาจสงคราม ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 สิริอายุได้ 64 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2510
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ? พระยาเสนาภิมุข ? หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ ? พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ สุทัศน์) ? พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ ? พระยากฤษณรักษ์ ? พระยาอินทรชิต ? พระยาพิชัยสงคราม ? กาจ กาจสงคราม ? สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? ถนอม กิตติขจร ? ประภาส จารุเสถียร ? วิชัย พงศ์อนันต์ ? ชลอ จารุกลัส ? กฤษณ์ สีวะรา ? อรรถ ศศิประภา ? สำราญ แพทยกุล ? อ่อง โพธิกนิษฐ์ ? เกรียงไกร อัตตะนันทน์ ? ประเสริฐ ธรรมศิริ ? ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ? อำนาจ ดำริกาญจน์ ? เทพ กรานเลิศ ? ปิ่น ธรรมศรี ? วศิน อิศรางกูร ณ อยุธยา ? อาทิตย์ กำลังเอก ? พัฒน์ อุไรเลิศ ? พิจิตร กุลละวณิชย์ ? วัฒนชัย วุฒิศิริ ? ศัลย์ ศรีเพ็ญ ? ไพบูลย์ ห้องสินหลาก ? ชัยณรงค์ หนุนภักดี ? เชษฐา ฐานะจาโร ? บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ ? วินิจ กระจ่างสนธิ์ ? นิพนธ์ ภารัญนิตย์ ? ทวีป สุวรรณสิงห์ ? สมทัต อัตตะนันทน์ ? พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ? ประวิตร วงษ์สุวรรณ ? ไพศาล กตัญญู ? อนุพงษ์ เผ่าจินดา ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา ? คณิต สาพิทักษ์ ? อุดมเดช สีตบุตร ? ไพบูลย์ คุ้มฉายา ? ธีรชัย นาควานิช ? กัมปนาท รุดดิษฐ์ ? เทพพงศ์ ทิพยจันทร์
หลวงวีระโยธา ? หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ? ไสว ไสวแสนยากร ? ครวญ สุทธานินทร์ ? สนิท สนิทยุทธการไทยยานนท์ ? หลวงสวัสดิ์ฤทธิรณ ? ชลอ จารุกลัส ? กฤษณ์ สีวะรา ? จิตต์ สุนทรานนท์ ? ธงเจิม ศังขวณิช ? จำลอง สิงหะ ? พโยม พหุลรัต ? สวัสดิ์ มักการุณ ? เปรม ติณสูลานนท์ ? แสวง จามรจันทร์ ? ลักษณ์ ศาลิคุปต ? พักตร์ มีนะกนิษฐ ? พิศิษฐ์ เหมะบุตร ? อิสระพงศ์ หนุนภักดี ? วิมล วงศ์วานิช ? ไพบูลย์ ห้องสินหลาก ? อารียะ อุโฆษกิจ ? อานุภาพ ทรงสุนทร ? สุรยุทธ์ จุลานนท์ ? เรวัต บุญทับ ? สนั่น มะเริงสิทธิ์ ? เทพทัต พรหโมปกรณ์ ? ชุมแสง สวัสดิสงคราม ? เหิร วรรณประเสริฐ ? สุเจตน์ วัฒนสุข ? สุจิตร สิทธิประภา ? วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล ? วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ ? ธวัชชัย สมุทรสาคร ? จีระศักดิ์ ชมประสพ ? ชาญชัย ภู่ทอง ? ธวัช สุกปลั่ง ? วิชัย แชจอหอ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ? วีระ วีระโยธา ? หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ? หลวงจุลยุทธยรรยง ? ครวญ สุทธานินทร์ ? ผ่อง บุญสม ? ประพันธ์ กุลพิจิตร ? อรรถ ศศิประภา ? อ่อง โพธิกนิษฐ ? สำราญ แพทยกุล ? ประสาน แรงกล้า ? ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ? สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ ? สีมา ปาณิกบุตร ? พร้อม ผิวนวล ? เทียบ กรมสุริยศักดิ์ ? รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ ? ชัยชนะ ธารีฉัตร ? ศิริ ทิวะพันธุ์ ? ไพโรจน์ จันทร์อุไร ? ยิ่งยส โชติพิมาย ? สุรเชษฐ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ? ถนอม วัชรพุทธ ? สมหมาย วิชาวรณ์ ? วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ ? อุดมชัย องคสิงห ? พิชาญเมธ ม่วงมณี ? สพรั่ง กัลยาณมิตร ? จิรเดช คชรัตน์ ? สำเริง ศิวาดำรงค์ ? ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ? วรรณทิพย์ ว่องไว ? ชาญณรงค์ ธนารุณ ? ปรีชา จันทร์โอชา ? สาธิต พิธรัตน์ ? สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล
สัณห์ จิตรปฏิมา ? ปิ่น ธรรมศรี ? จวน วรรณรัตน์ ? หาญ ลีนานนท์ ? วันชัย จิตจำนงค์ ? วิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์ ? ยุทธนา แย้มพันธ์ ? กิตติ รัตนฉายา ? ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ ? ปรีชา สุวัณณะศรี ? ณรงค์ เด่นอุดม ? วิชัย บัวรอด ? ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ? พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ ? พิศาล วัฒนะวงค์คีรี ? ขวัญชาติ กล้าหาญ ? องค์กร ทองประสม ? วิโรจน์ บัวจรูญ ? พิเชษฐ์ วิสัยจร ? อุดมชัย ธรรมาสาโรรัชต์ ? สกล ชื่นตระกูล ? วลิต โรจนภักดี ? ปราการ ชลยุทธ ? วิวรรธน์ ปฐมภาคย์